BACK TO EXPLORE

Blow Up the Essence of Thai-Designer

Blow Up the Essence of Thai-Designer
เปิดความหลากหลายของดีไซเนอร์ไทยร่วมสมัยไม่รู้จบที่ ODS


ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา วงการงานออกแบบเมืองไทยมีความเคลื่อนไหวอย่างมีสีสันชวนให้ติดตามและน่าสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี หลากหลายสตูดิโอและดีไซเนอร์ชาวไทยต่างมีผลงานที่ได้รับการยอมรับ ไม่ใช่แค่เพียงในบ้านเราเท่านั้น แต่ยังขยายความรับรู้ออกไปสู่นานาประเทศทั่วโลก เหตุผลนั้นมาจากคาแรคเตอร์ที่โดดเด่นในโปรดักต์ การนำภูมิปัญญาไทยพื้นบ้านมาผสมผสานแนวทางการออกแบบของคนรุ่นใหม่ วันนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ กับวงการที่กำลังเติบโตอย่างน่าสนใจมากที่สุดในเมืองไทยเวลานี้


Re-Discover the Traditional Craftsmanship

การพบเจอกันระหว่างดีไซน์ร่วมสมัยกับภูมิปัญญางานฝีมือดั้งเดิม แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เราทุกคนคงต้องเคยมีผ่านตากันมาตั้งแต่เด็ก ศักยภาพงานฝีมือของคนไทย ทั้งถ้วยชาม หรืองานประดับฝาผนังอารามวัด ของใกล้ตัวทั้งหลาย เรื่องเหล่านี้ยังคงวนเวียนอยู่ในการรับรู้ ตั้งแต่ตำราเรียนไปจนถึงในชีวิตประจำวันของเรา เมื่อกาลเวลาเดินทางมาถึงยุคของงานออกแบบร่วมสมัย หรือ Contemporary ประจวบเหมาะกับยุคสมัยนี้เทรนด์ของทั่วโลกไม่ว่าประเทศใดๆ ต่างชูเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศตัวเองออกมาในผลงาน อาทิ งานที่ใช้กระดาษแบบพิเศษจากประเทศญี่ปุ่น หรือ งานไม้ที่มีดีไซน์เฉพาะตัวตามสไตล์ฝั่งสแกนดิเนเวีย ในบ้านเราเอง คนออกแบบในยุคปัจจุบันเริ่มย้อนคิดถึงสิ่งที่มีอยู่ในมือตัวเอง มาปรับใช้กับความรู้ความเข้าใจในการทำงานออกแบบของคนรุ่นใหม่ ออกมาเป็นผลงานที่มีคาแรคเตอร์เด่นชัดในช่วงปีหลังมานี้



ตัวอย่างการหยิบใช้ภูมิปัญญาการทำเซรามิกของชาวไทยพื้นบ้านทางภาคเหนือ กับแนวทางออกแบบสมัยใหม่ - ผลงานแก้วกาแฟของ Cone No.9

 

Ideas That Characterized the Products

ผลงานฝีมือดีไซเนอร์คนไทยตอนนี้ มีรายละเอียดการผสมผสานคาแรคเตอร์ของยุคใหม่กับการใช้กรรมวิธีการทำงานฝีมืออันเป็นภูมิปัญญาของคนไทยอย่างน่าสนใจ ที่เห็นได้ชัดคือ การทำเครื่องดินเผา หรือเซรามิก ที่มีประวัติมายาวนานและขึ้นชื่อมากทางภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดลำปางและเชียงใหม่ หรือ การย้อมคราม Indigo ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการแฟชั่นและโปรดักต์ดีไซน์ของโลก ก็มีอยู่ในภูมิปัญญาพื้นบ้านของภาคอีสานมาก่อน อย่างจังหวัดสกลนคร เป็นต้น ตัวอย่างที่กล่าวมานี้ ถูกหยิบมาใช้ผสมผสานกับแนวทางใหม่ๆ กลายเป็นผลงานที่น่าสนใจ และแน่นอนว่าต้องไปสะดุดตาเรดาร์ของคนในวงการออกแบบโลกอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ในช่วงปีหลังมานี้ผลงานดีไซเนอร์ไทยจึงได้ออกไปแสดงในเวทีการประกวดชั้นนำที่ต่างประเทศ อาทิ งานประกาศรางวัล GoodDesign ประเทศญี่ปุ่น เวทีแสดงผลงานออกแบบ Milan Design Week ที่ประเทศอิตาลี เป็นต้น



ผลงานออกแบบที่สะท้อนคาแรคเตอร์ของงานดีไซน์เมืองไทยชัดเจนอย่าง
Woodworks by Craig หรือหมอนผ้าย้อมครามจาก Slow Stitch Studio ที่โดดเด่นแตกต่างไปจากสิ่งที่ดีไซเนอร์ทั่วโลกนำเสนอ

 

The Biggest Store Right Now



และหากพูดถึงเวทีโชว์เคสสำหรับผลงานโดยนักออกแบบไทยภายในบ้านเราแล้ว เห็นจะมี DEmark Award หรือรางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันงานออกแบบไทยสู่เวทีระดับโลก นอกจากนี้เรายังนึกถึง ODS (Object of Desire Store) บนชั้น 3 ของสยามดิสคัฟเวอรี่ พื้นที่ที่เรียกได้เต็มปากว่า เป็นสเปซแรกที่รวมเอาผลงานจากนานาดีไซเนอร์ชาวไทย (และต่างชาติ) ไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งในบ้านเรา เราจะได้พบกับผลงานของทั้งดีไซเนอร์หน้าใหม่ ไม่ว่าจะ Slow Stitch Studio / Cone No.9 และชื่อเก๋าของวงการ อาทิ Deesawat / 59 Studio / Trimode / Woodworks by Craig ที่การันตีด้วยตัวผลงานและดีกรีรางวัลเวทีการประกวดในสองสามปีที่ผ่านมา ทั้งหมดทั้งปวงนี้เป็นเพียงผลงานส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ ODS หยิบมาวางรวมแล้วกว่า 100 แบรนด์ และต่างก็มีคาแรคเตอร์ต่างกันออกไปให้เลือกชมกัน รับประกันว่าเมื่อลองแวะมาเดินดูในร้านแล้ว คุณสามารถสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายของงานออกแบบคนไทยรุ่นใหม่ ที่ไม่เคยมีร้านไหนให้ได้เหมือนแน่นอน




สำหรับผู้ที่ชื่นชอบและกำลังมีความสนใจไปกับการเติบโตของผลงานออกแบบไทย สามารถพบกันได้ที่ ODS (Object of Desire Store) ที่ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่

YOU MAY ALSO LIKE