BACK TO EXPLORE

Why do we need ecology?

Why do we need ecology?
ในหลวง ร.9 คือผู้สร้างระบบนิเวศชีวิตของคนไทยมากว่า 70 ปี



ถ้ามีใครบอกว่าในหลวง ร.9 คือศูนย์รวมใจของคนทั้งชาติ เราต้องยอมรับด้วยหัวใจอันเปี่ยมล้น พระองค์พระราชทานแนวคิดที่เป็นหลักในการดำเนินชีวิตช่วยสร้างสังคมที่ดี ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้ประชาชนทุกคนรวมใจเป็นหนึ่งเดียวคือ “ความสามัคคีของคนในชาติ” โดยสิ่งสำคัญที่หล่อหลอมคนไทยจากรุ่นสู่รุ่น คือพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เพื่อปลูกสำนึกในจิตใจคนไทยทุกๆ คนมาโดยตลอดด้วยหลักการที่ว่า “ระเบิดจากข้างใน” และ “ปลูกป่าในใจคน”



หลักระเบิดจากข้างใน คือ การสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชน โดยการเข้าไปพัฒนาให้มีความพร้อมในการพัฒนาแล้วลงมือทำจริงเป็นผลลัพธ์ออกมาสู่สังคมภายนอก และหลักการปลูกป่าในใจคน คือสิ่งที่พระองค์ท่านทรงเล็งเห็น การแก้ไขปัญหาการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติด้วยการปลูกจิตสำนึกในการรักผืนป่า ต้นไม้ใบหญ้า สิ่งแวดล้อมให้แก่คนเสียก่อน เพื่อให้ประชาชนรักและดูแลผืนป่า สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเองได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งทั้ง 2 หลักการทรงงานของท่านคือแนวทางสำคัญในการใช้ชีวิต ท่ามกลาง Ecology ทั้งทางธรรมชาติและสังคมที่ดี


เราคือส่วนหนึ่งในระบบนิเวศ



Ecology คือการที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่าง ไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพัง และในหลายครั้งที่ความสัมพันธ์ภายใน ระบบนิเวศนั้นมีความสมดุลอยู่ในตัว แต่สิ่งที่น่าหวาดกลัวคือการรบกวน ระบบนิเวศวิทยาจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่ทันตั้งตัว และทำให้การใช้ชีวิตของแต่ละฝ่ายได้รับผลกระทบได้



“สังคมไทยจะเป็นปึกแผ่นได้ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน” เราเชื่อว่า ธรรมชาติต้องการความร่วมมือจากทุกเหล่าสิ่งมีชีวิตเพื่อให้ระบบเดินหน้าไป ได้อย่างราบรื่น ไม่แพ้ความร่วมมือจากคนในชาติเพื่อสร้าง “ความสามัคคี” ให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันก็ จะยิ่งทำให้สังคมมนุษย์นั้นน่าอยู่


ศาสตร์พระราชาจะอยู่กับเราตลอดไป



ดังนั้นหลักการทรงงานทั้งสองคือส่วนหนึ่งของแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาชุมชนให้อยู่รอด พอมีพอกิน เข้มแข็ง และมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในอนาคตเพื่อมุ่งเน้นให้คนในชาติ รู้รักสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความพอเพียง รู้จักตนเอง มีความขยันหมั่นเพียร ในการทำหน้าที่ของตัวเอง หมั่นศึกษาหาความรู้ให้กับตนเอง ซึ่งคำสอนทั้งหมดถ้าคนไทยน้อมนำไปปรับใช้กับชีวิตได้ ก็จะทำให้สังคมและประเทศของเรามีสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดีไม่แพ้ธรรมชาติที่สรรค์สร้างไว้อย่างสวยงาม และ “ความพอเพียง” นี้หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมี ผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มีความมั่นคงต่อคุณธรรมคือ มีความซื่อสัตย์ อดทน ความเพียร ความรอบคอบ ต้องใฝ่รู้ทั้งทางโลกและทางธรรมโดยสม่ำเสมอ



เพราะปัจจุบันในมุมสังคมมนุษย์นั้น เราทุกคนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันในระบบนิเวศวิทยา ไม่สามารถอยู่ได้ลำพังดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า” แต่ไม่ว่าอย่างไรการกระทำจากผู้คนทั้งหลายย่อมส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงไป ดั้งนั้นการศึกษาผลกระทบและตระหนักถึงความสามัคคีของคนในชาติจึงจำเป็นไม่น้อยไปกว่าการให้ความสำคัญทาง Ecology หรือ นิเวศวิทยาแม้แต่น้อย

และเพื่อให้สังคมไทยเกิดความสามัคคีและสร้าง Cultural Ecology หรือนิเวศวิทยาวัฒนธรรมที่ดีในการดำรงชีวิต การน้อมนำคำสอนของพระองค์ พระราชามาปรับใช้ใน“การพึ่งพาอาศัยกันด้วยความสามัคคี” ย่อมเป็นแนวทางที่ดีในแง่มุมของการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันเริ่มตั้งแต่วันนี้และตลอดไป

ที่มาภาพ : www.nat.go.th

YOU MAY ALSO LIKE