BACK TO EXPLORE

ECO TREND WITH รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต

จุดริเริ่มของอาจารย์สิงห์ ที่ทำให้สนในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและ Sustainabilty:

“ตอนที่ผมเริ่มทำเกี่ยวกับเรื่อง sustainability ตั้งแต่เรียนปริญญาเอกแล้ว แต่ก็จะเน้นเรื่องอาคารที่ประหยัดพลังงาน หลังจากนั้นมาผมก็กลับมาสอนหนังสือที่เมืองไทย แล้วก็เริ่มสอนเด็กๆเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน แล้วตอนนั้นเป็นช่วงที่เมืองไทยไม่ได้สนใจเรื่องนี้เท่าไหร่ ผมก็เลยรู้สึกว่า ทำยังไงดีให้มันมีแรงกระตุ้น เพราะทั่วโลกเขาเริ่มรักษาสิ่งแวดล้อมกันแล้ว ตอนนั้นปี 2003 มั้งครับ ก็เริ่มคิดว่ามันต้องมีกระบวนการบางอย่างที่กระตุ้นสังคมให้มาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่งั้นพังแน่โลกเรา ก็เลยตั้งธุรกิจขึ้นมาชื่อ OSISU คือการเอาเศษวัสดุจากโครงก่อสร้างมาทำผลิตภัณฑ์ มาทำวัสดุใหม่เพื่อใช้ในการก่อสร้าง มาทำเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้าส่งออก แล้วพอดีมันก็มีคนให้ความสนใจเยอะเกินคาดในตอนนั้น ก็เลยเริ่มรู้สึกว่ามันเป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นสังคมก็เลยทำควบคู่กันไประหว่างสอนหนังสือกับทำธุรกิจขายสินค้าที่มาจากเศษวัสดุโดยนำเสนอเรื่อง eco-design เป็นหลัก คนก็ให้ความสนใจมาตลอดเลยครับ จนกระทั้งถึงจุดที่มหาวิทยาลัยก็เห็นว่าเรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องที่ต้องการของโลก ก็เลยให้งบประมาณก้อนนึงมาให้ผมตั้งแล็บในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็คือแล็บ creative center for eco-design (RISC by MQDC) จนปี 2006-2007 ก็มาเจอคุณแป๋มเนี่ยแหละครับที่ Siam Piwat คุณแป๋มบอกว่าสนใจเรื่องนี้มานานแล้วแต่หาคนมาทำเรื่องนี้ไม่ได้ ผมก็ยินดีเลยเพราะตอนนั้นเนี่ย Siam Piwat เป็นองค์กรเอกชนแรกเลยที่อยากจะทำงานกับผมเรื่องนี้ ก็เลยเข้ามาเริ่มด้วยการพัฒนาศูนย์การค้าของ Siam Piwat ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง eco-design ครับ”

 

อาจารย์สิงห์ มีมุมมองอย่างไรเกี่ยวกับจุดเปลี่ยนที่จะทำให้คนหันมาสนใจเรื่อง decarbonization:

“ตอนนี้ประเทศไทยเพิ่งจะเริ่ม ผมว่า Siam Discovery จะเป็นเจ้าแรกๆเลยที่คุยเรื่องนี้ คือทุกคนพูดถึงโลกร้อนในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่โลกร้อนคนมองว่ามันคือคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นเหมือนกับผ้าห่มคลุมโลก ทำให้ความร้อนที่เข้ามันไม่ออกไปและสิ่งที่เราผลิตขึ้นมาเป็นความร้อนมันก็ไม่ออกไปด้วย โลกแห่งอนาคตก็จะเห็นอยู่แล้วครับว่า climate change หรือโลกรวนเนี่ย มันรุนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มันก็เลยเป็นจุดต่อมาว่าในยุคนี้เราจะคุยกันเรื่อง decarbonization เพราะว่ามันแปลว่าเราจะลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งรวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยและก็สิ่งที่ทำให้เกิดโลกร้อน ตรงนี้จุดเปลี่ยนคือแล้วเราจะลดคาร์บอนได้อย่างไร ซึ่งมันปล่อยจากกิจกรรมอยู่ทุกอย่าง ขับรถ อาบน้ำอุ่น ผลิตสินค้า ผลิตเสื้อผ้า ผลิตอาหาร ทุกอย่างเนี่ยมันใช้พลังงานทั้งนั้น คือมันเปลี่ยนน้ำมันที่เราขุดขึ้นมาจากใต้ดินขึ้นมาแปลงเป็นพลังงาน แล้วเอาพลังงานมาใช้ผลิตไฟฟ้าที่เราใช้เปิดแอร์หรือไปปั่นเครื่องจักรอุตสาหกรรมต่างๆ ถ้าเรายังใช้ consumption แบบนี้มันก็จะทำให้เราลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ยากอย่างมาก แล้วการผลิตของเราจะลดลงได้อย่างไรในเมื่อประชากรเราเพิ่มมากขึ้น ทุกคนก็จะเริ่มมองแล้วครับว่าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไหม พลังงานลมไหม พลังงานใต้พิภพมั้ย พลังงานน้ำจากทะเล คลื่นจากทะเลได้รึเปล่า จุดเปลี่ยนจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ หนึ่ง คือหยุดหรือว่าลดการดึงคาร์บอนใต้ดินขึ้นมาปล่อยข้างบน สอง คือการดึงคาร์บอนบนอากาศหรือในปล่องต่างๆกลับมาใช้เป็นทรัพยากรหรือวัตถุดิบในการผลิตสิ่งอื่นต่อไป หรือลด consumption ตรงนี้มันก็เลยนำมาสู่จุดที่ทำให้ทุกคนพูดถึง circular economy เป็นการหมุนเวียนทรัพยากรที่มีอยู่แล้วบนผิวโลกกลับมาใช้หลายๆรอบ พลาสติกก็เอามารีไซเคิลหลายๆรอบ ไม่มีการเอาไปเผาไม่มีการเอาไปฝังทำลายกับอีกอันคือ sharing economy ก็จะมีพวก rental business การให้เช่าชุดของ luxury fashion โรงแรมก็ไม่ต้องสร้างใหม่มี Airbnb ขึ้นมาเสริม อพาร์ทเมนต์ คอนโดต่างๆ สิ่งเหล่านี้แหละครับ นั่นก็คือสองขาที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต ตอนนี้บทบาทของ Siam Piwat ก็เริ่มมีการมองครับว่าเราจะ decarbonize ยังไง ตอนนี้ก็มีการใส่แผงโซลาร์ที่ duty free (Siam Premium Outlet) แสงแดดจ้าขนาดเนี้ยใช้ไปเถอะเปิดไฟไปเถอะ ไม่มีปัญหาครับ ไม่ได้ปล่อยคาร์บอนเพิ่ม น้ำที่เราระบายออกไปหรือขยะที่เราทิ้งไปไม่ได้ไปฝังไม่ได้ไปเผา เอากลับมาส่งศูนย์ รีไซเคิล ก็แสดงว่าเราลดการดึงน้ำมันออกมาจากใต้ดินมาผลิตพลาสติก แต่เราเอาพลาสติกที่มีอยู่แล้วเนี่ยแหละมาหมุนใช้ใหม่ ผมว่ามันก็ใกล้ตัวจากการที่ทำทุกอย่างพวกนี้ว่าทำไมต้องคัดแยกขยะเพื่อที่จะเอากลับมาใช้ใหม่ ทำไมถึงต้องติดแผงโซลาร์ถึงแม้จะแพงเพราะว่าอยากที่จะลดการใช้คาร์บอน ทำไมถึงต้องประหยัดน้ำประหยัดโน่นนี่นั่น แต่จริงๆมันไม่ใช่แค่ economic aims มันเป็นสิ่งที่ทำให้เราลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

 

คิดอย่างไรกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนในยุคปัจจุบันและดูเหมือนจะกลายมาเป็นกระแสหลักที่ทำให้คนเริ่มสนใจเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น:

“ผมมั่นใจครับตอนนี้พูดได้เลยว่า sustainability, eco รักษ์โลก จะไม่ใช่กระแส (trend) แต่จะเป็นการอยู่รอด (survival) ไม่ทันก็คือตาย มนุยษ์จะสูญพันธุ์ถ้าไม่ทำ ไม่น่าจะรอด และผมไม่คิดว่ามีคนคิดว่ามันคือกระแสนะ ถ้าให้พูดตอนนี้ ผมไม่คิด เพราะว่าจากการที่เราเก็บข้อมูลมาแล้วเนี่ย เราพบว่าตอนนี้โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่เขาเจอปัญหาทั้ง PM 2.5 ทั้งน้ำท่วมทั้งโลกร้อนแบบนี้ ไม่น่ามีใครคิดว่าเป็นกระแส น่าจะเป็นยุคสมัยพวกผมรึเปล่าที่ยังคิดว่าเป็นกระแส แต่เด็กรุ่นใหม่เขาคงไม่คิดแล้วครับ”

 

ทิศทางในวันข้างหน้าหรือเป้าหมายในอนาคตของอาจารย์สิงห์เป็นอย่างไร:

“สำหรับผมเอง ผมมีเป้าอย่างหนึ่งเลยว่าถ้าผมสามารถจะสร้างอาคารที่ทำด้วย timber หรือว่าไม้ได้จะเป็นสิ่งที่แบบมหัศจจรรย์มาก เช่น high rise ให้ประเทศไทยเนี่ยทีสร้างตึก high rise ที่ไม่ใช้ปูนไม่ใช่เหล็กอีกแล้วเป็นไม้ทั้งหมดเนี่ย ผมว่ามันเป็น wish list อันที่หนึ่งของผมเลยที่จะทำให้ได้ อันที่สองผมอยากจะให้มีโครงการที่เป็นต้นแบบที่เมืองไทยที่เป็น carbon negative development ให้ได้ ไม่ใช่ carbon zero ไม่ใช่ carbon neutral  เป็น carbon negative คือไม่ใช่แค่ไม่ปล่อยคาร์บอนอย่างเดียว แต่ยังดูดซับคาร์บอนกลับมาที่โครงการด้วยและผมอยากให้ทุกโปรดักส์ในโลกจากนี้ไป 2023 ที่ผลิตขึ้นมา เป็น eco product ทั้งหมด เพราะไม่งั้นเราจะไม่สามารถลดปัญหาโลกรวนได้เลยครับ”

ถ้ามีพรวิเศษ 1 ข้อ คุณจะขออะไรให้กับโลกของเรา:

“ผมอยากให้ bio diversity ของโลกนี้สมบูรณ์ครับ คือความหลากหลายชีวะต่างๆมันกลับมาสมบูรณ์ คือถ้าคนมองโลกจากดาวอังคาร ดาวดวงอื่นมาเนี่ยจะต้องชื่นชมในความอุดมสมบูรณ์ ในความบริสุทธิ์ ในความสมดุลของโลกใบนี้ ตอนนี้มันไม่สมดุลเลย มันไม่สามารถจะอยู่หรือไปได้ในลักษณะแบบนี้ ขอให้เรามีโอกาส set zero กันใหม่ด้วยความรู้ที่เรามีในปัจจุบัน อย่าเพิ่งให้มันเละแล้วค่อยแก้เลย มันแก้ไม่ไหวแล้ว”

 

ฝากถึงคนรุ่นใหม่หรือคนที่กำลังสนใจของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: 

“hope and dream ของการที่จะทำให้โลกนี้ไม่เละไปกว่านี้อยู่ในมือของ generation พวกเขาแล้วแหละครับ เพราะว่า generation ก่อนเนี่ยไม่ได้ระวัง ฉะนั้นผมคิดว่าเขาคือ hope and dream of human survival เขามี tools ใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างเช่น AI ที่แต่ก่อนไม่มี ที่สามารถ analyze cluster ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว เขามีระบบคอมพิวเตอร์ที่เร็วมาก เขามี satellite มี tools ต่างๆที่ generation เก่าๆไม่มี เพราะฉะนั้นผมหวังว่าเขาจะใช้ tools ใหม่ๆเอามาใช้ในการสร้างโลกที่สมดุลครับ ฝากไว้ครับ”

YOU MAY ALSO LIKE