BACK TO EXPLORE

Return of the Vinyl

Return of the Vinyl
โลกของการฟังเพลง กำลังกลับมาถูกปกคลุมด้วยคุณภาพของแผ่นเสียงอีกครั้ง!


ช่องทางการฟังเพลงในปัจจุบันที่มีตัวเลือกมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบดิจิตอล หรือในระบบออนไลน์ที่มีมากมาย ทั้งเว็บและแอพที่ให้บริการสมัครสมาชิก แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ แผ่นเสียง ที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่สิบปี ก็ยังคงมีกลุ่มผู้นิยมคุณภาพและความคลาสิกของอุปกรณ์ประเภทนี้อยู่ แผ่นเสียงเป็น อุปกรณ์ในการฟังเพลงที่อาจจะเรียกได้ว่า เก่าแก่ที่สุดในบรรดา timeline ที่เรากล่าวมาทั้งหมด แต่กลับกำลังได้รับการพูดถึง และให้ความสนใจอย่างมากในช่วงหลังมานี้ การฟังแผ่นเสียง ไม่ได้มีขอบเขตจำกัดอยู่แค่การมองหาแผ่นเก่า แผ่นมือสอง ที่เป็นวัตถุจากอดีตอีกต่อไปแล้ว ตลาดยุคนี้ในมุมของนักดนตรีต่างประเทศ ทั้งค่ายเพลงใหญ่ และนักดนตรีทำเพลงอิสระ ต่างก็ลงทุนผลิตแผ่นเสียงของตัวเองออกมาในแต่ละอัลบั้มเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีการเอาอัลบั้มเก่าๆ ที่เป็นที่นิยมควรค่าแก่การเก็บสะสม มาผลิตเป็นแผ่นไวนิลด้วย แม้ว่าในโลกต่างประเทศ การหยิ บเอาอัลบั้มดังในอดีตมาทำเป็นแผ่นเสียงจะเกิดขึ้นให้เห็นบ่อยๆ แต่ข่าวดีคือ ปัจจุบันนี้ค่ายเพลงในบ้านเราที่มีชื่อคุ้นหูอย่างเช่น GMM Grammy หรือ Bakery ต่างก็ลงทุนนำเอาแผ่นเสียงในยุคก่อน มา reissue กันอีกครั้ง ที่สำคัญคือที่ Siam Discovery ของเราก็มีวางขายบรรดาแผ่นเสียงอัลบั้มที่หลายคนคิดถึงกันมากมายอีกด้วย เรามาดูภาพความทรงจำของผลงานอัลบั้มดังศิลปินแต่ละยุคสมัยกันดีกว่า



บรรยากาศในร้านแผ่นเสียงที่เหล่าคนรักเสียงเพลงมารวมตัวกันเพื่อนคุ้ยหาแผ่นโปรดที่อาจจะถูกชะตาซ่อนอยู่ในร้าน
นักฟังเพลงตัวยงมักจะสนใจเก็บสะสมแผ่นเสียงของอัลบั้มและศิลปินที่มีคุณค่าทางความรู้สึก นอกจากนั้นการฟังแผ่นเสียง ยังให้อารมณ์และบริบทที่แตกต่างออกไปจากการฟังเพลงรูปแบบใหม่ๆ จุดนี้เป็นจุดที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะหากต้องการได้รับอรรถรส และทำความรู้จักกับบทเพลงที่ศิลปินในยุคก่อนทำออกมา ช่องทางที่ดูเหมาะสมที่สุดคงหนีไม่พ้นการฟังจากรูปแบบที่เป็นต้นแบบเหมือนในสมัยก่อน แผ่นเสียงจึงถือเป็นตัวเลือกที่กำลังกลับมาได้รับความสนใจ ทั้งตลาดเล็กและใหญ่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอพูดถึงบรรดาอัลบั้ม หรือผลงานเพลงในอดีต ที่เป็นที่พูดถึง และควรค่าแก่การย้อนกลับไปฟังแผ่นเสียงกัน


Our Recommendations

(ซ้าย) Sings อัลบั้มชุดดังของ Chet Baker ในยุคต้นอาชีพ
(ขวา) Sweet Words อัลบั้มรวมเพลง Jazz พระราชนิพนธ์ของในหลวง

หากคุณชื่นชอบแนวเพลงแจ๊ซ การลองหาแผ่นไวนิลอัลบั้มเพลงเหล่านี้มาฟังน่าจะช่วยเพิ่มความขลังได้เป็นอย่างดี โดยเพลงแจ๊ซเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงยุค 50s โดยมีเหล่าศิลปินเอกฝั่งอเมริก อาทิเช่น Charlie Parker ผู้ทำให้ jazz bebop เป็นที่กล่าวขานกันจนทุกวันนี้ หรือนักคิดค้นอย่าง Miles Davis ที่ผลิตคำศัพท์ใหม่ๆ ให้กับวงการแจ๊ซมากมาย ศิลปินแจ๊ซหลายคนคอเพลงในปัจจุบันก็ยังคงย้อนกลับไปฟังกันอยู่เสมอๆ ถามถึงฝั่งบ้านเรา นอกจากเพลงลูกกรุง และลูกทุ่งยุคเก่าที่มีให้คิดถึงกัน เรามองเห็นการเดินทางคล้ายกันของสองฝั่งโลกในผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ของในหลวงของเรา ที่ถือเป็นตำราของบทเพลงแจ๊ซชั้นดี ช่วยทำให้บ้านเราได้รู้จักกับดนตรีรูปแบบนี้ นอกจากนั้นพระองค์ท่านยังเคยได้ร่วมงานกับนักดนตรีแจ๊ซฝั่งอเมริกามากมาย หนึ่งในนั้นคือ Benny Goodman ที่ถือเป็นแนวหน้าในยุค Swing เป็นโชคดีที่ล่าสุดมีการนำแผ่นเสียงของในหลวง ทำออกมาขายอีกครั้ง ถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่อยากจะศึกษางานเพลง jazz ของโลกสองฝั่ง


Chet Baker, 1987 ในช่วงปลายของอาชีพของเขา


ในหลวงได้ร่วมทรงดนตรีในวโรกาศพิเศษช่วงเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกา ร่วมกับนักดนตรีแจ๊ซชั้นนำ อาทิ  Urbie Green, Benny Goodman, Jonah Jones, Gene Krupa ; US, 1960

(ซ้าย) Thriller อัลบั้มยอดขายระดับ Platinum ของ Michael Jackson
(ขวา) ส.ค.ส. งานเพลงชุดที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศรู้จักชื่อของ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย

ในมุมของเพลง Pop ที่ฟังง่ายและเป็นเอกลักษณ์ ติดหู ในฝั่งต่างประเทศเรานึกถึงป๊อปไอคอนอย่าง Michael Jackson ที่มีผลงานอัลบั้มยอดขายทะลุเพดาน ติดต่อกันมากมาย ไม่ว่าจะอย่างเช่นอัลบั้ม Thriller ชุดสองที่แทร็คในอัลบั้มเกือบทุกเพลงฮิตติดชาร์ต ในฝั่งไทย แม้แนวเพลงอาจจะทิ้งห่างกันพอสมควร แต่ถ้าถามถึงความเป็นซุปเปอร์สตาร์ หรือ ป๊อปไอคอน ระดับประเทศคงต้องหนีไม่พ้น เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย ที่มีผลงานโด่งดังหลายอัลบั้มติดต่อกัน และล่าสุดเอง ทาง GMM Grammy ก็ได้นำเอาอัลบั้มชุดเก่าๆ มา reissue ในรูปแบบแผ่นเสียงอีกครั้ง


Michael Jackson ระหว่างช่วงทัวร์คอนเสิร์ตชุด Thriller ที่มีเพลงดังอย่าง Billie Jean, Beat It เป็นต้น


ธงไชย แมคอินไตย์ บนเวทีคอนเสิร์ต แบบเบิร์ดเบิร์ด ในช่วงปี 2530-2535

(ซ้าย) Born in the U.S.A. อัลบั้มชุดดังศิลปินขวัญใจอเมริกันชน Bruce Springsteen
(ขวา) บ้าหอบฟาง ผลงานชุดแรกๆของดูโอ้สองพี่น้องอัจฉริยะดนตรีของเมืองไทยที่มีเพลงดังรวมอยู่ในนั้นมากมาย

สำหรับเพลงร็อคในมุมที่ฟังง่าย มีเมโลดี้ติดหู แต่หนักแน่น เรานึกถึง Bruce Springsteen เจ้าพ่อขวัญใจมหาชน ของชาวอเมริกัน ที่มีบทเพลงเนื้อหาเป็นเหมือนตัวแทนชายอเมริกันชนชั้นแรงงานหลายคน ด้วยลุคที่ชัดเจนของ Springsteen ทำให้เขาถือเป็น ร็อคไอค่อนคนสำคัญคนหนึ่งของวงการเพลงอเมริกา ส่วนอัลบั้มที่เป็นที่พูดถึงตลอดกาล และปกอัลบั้มอันสุดแสนจะไอคอนนิคบวกกับชื่อที่อเมริกันชนสุดๆ อย่าง Born in the U.S.A. ก็ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จนคอเพลงทั่วโลกก็ยังพลอยอินไปด้วย ในประเทศไทย ปรากฎการณ์เพลงร็อคยืนหยัดอยู่ในกระแสป๊อปที่ฟังเพราะและง่ายติดหู คงต้องหนีไม่พ้นขวัญใจคนไทยอย่างสองพี่น้อง อัสนี วสันต์ ที่มีบทเพลงในดวงใจคนฟังเพลง นับไม่ถ้วน ในโปรแกรม reissue อัลบั้มในอดีตของค่าย GMM Grammy ก็ไม่ลืมที่จะหยิบผลงานชุดดังของดูโอ้เพลงร็อคสะออน นี้มาทำใหม่ด้วย ไม่ว่าจะ บ้าหอบฟาง หรือ กระดี่ได้น้ำ ก็มีให้เลือกฟังและคิดถึงกัน


Bruce Springsteen ในคอนเสิร์ตที่ Winterland Ballroom, San Francisco, CA 1978


อัสนี-วสันต์ บนเวทีคอนเสิร์ตโลกดนตรี ช่วงอัลบั้ม บ้าหอบฟาง

(ซ้าย) Abraxas ผลงานชุดที่มีเพลงดัง Black Magic Woman / Gypsy Queen และอีกหลากหลายเพลงของวงร็อคละตินของ Carlos Santana
(ขวา) เมดอินไทยแลนด์ อัลบั้มที่ไม่เพียงทำให้คาราบาวครองใจแฟนเพลงชาวไทย แต่ยังโด่งดังข้ามน้ำไปถึงต่างประเทศ

ยุคดนตรีของบุปผาชน หรือฮิปปี้ ถือเป็นการเคลื่อนไหวทางดนตรีที่เด่นชัดเป็นพิเศษ การเดินทางของสองฝั่งทั้งไทยและเทศต่างก็มีศิลปินสร้างผลงานออกมาที่มีบทบาทในเรื่องของการเรียกร้องเสรีภาพ และสิทธิในสังคม จากฝั่งอเมริกาที่เราได้รู้จักกับวงดนตรีจากฝั่งอเมริกามากมาย หนึ่งในนั้นคือ Santana และฝั่งบ้านเราก็ได้รู้จักกับแนวเพลงที่เราเรียกแบบตรงตัวว่า เพลงเพื่อชีวิต แนวหน้ามาเลยคือ วงคาราบาว วงดนตรีมากฝีมือ ที่ยังคงมีฐานแฟนเพลงหนาแน่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลงานเพลงของคาราบาวหลายชุด ก็มีการผลิตแผ่นเสียง reissue ออกมาด้วยเหมือนกัน อัลบั้มที่หยิบมาพูดคือ เมดอินไทยแลนด์ ที่มีเพลงชื่อเดียวกันกับอัลบั้ม เป็นเพลงดัง ถึงขั้นในแง่ทางดนตรี คอเพลงต่างชาติก็ยกย่องว่านี่คือเพลงที่แสดงถึงอัตลักษณ์ ผสมผสานระหว่างดนตรีสากล และไทย ด้วยการบรรเลงขลุ่ย ของอาจารย์ธนิสร์ ที่มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ นี่คือการเดินทางของสองฝั่งโลกที่น่าจดจำอีกหนึ่งยุคสมัย


Carlos Santana และวงของเขาขณะกำลังเล่นเพลง Soul Sacrifice ที่เวทีเทศกาล Woodstock ครั้งแรกอันโด่งดังปี 1969


วง คาราบาว บนเวที โลกดนตรี ที่ถือเป็นอีกหนึ่งเทปประวัติศาสตร์ของรายการ กับผู้ชมที่ทะลักล้นไปจนถึงนอกถนน

(ซ้าย) อัลบั้มชุดที่ 2 ของ Oasis ที่เป็นตัวแทนของดนตรี Britpop ฝั่งเกาะอังกฤษได้อย่างดี
(ขวา) Entertainment งานชุดที่ 2 ของ Loso วงร็อคช่วงปลายต่อปี 90s-2000s ที่มีเพลงดังติดหูคอเพลงชาวไทยมากมาย

เราขอลาจากกันด้วย ช่วงรอยต่อระหว่างยุค 90s ถึง 2000s ที่โลกของเสียงเพลง ปกคลุมไปด้วยการเกิดขึ้นของดนตรีแนวทางเลือก หรือ Alternative ที่ฝั่งอเมริกา และอังกฤษ ต่างก็มีการตีความถึงดนตรีใหม่ของคนหนุ่มในเวลานั้นแบบที่น่าสนใจด้วยกันทั้งคู่ ถามถึงฝั่งอเมริกา เรานึกถึงกรันจ์ ผมยาว จัดเต็มทุกตัวโน๊ตอย่าง Nirvana ที่มีฟรอนท์แมนเป็นไอคอน Kurt Cobain หรือ Pearl Jam และ Smashing Pumpkin ในงานเพลงชุดแรกๆ ส่วนฝั่งเกาะอังกฤษ ถ้าไล่มาตั้งแต่ The Stone Roses มาจนถึง Oasis บรรดาวงร็อคจาก Manchester ทั้งหลาย ก็ดูจะมีจริตจะก้านชัดเจน และเด่นชัดที่สุดในยุคนั้น ซึ่งทั้งหดมทั้งปวง ประจวบเหมาะของการเกิดขึ้นของวงร็อคยุคใหม่ในเมืองไทย ที่นอกจากจะมีทางเดินมาทั้งในกระแสและนอกกระแส ฝั่ง GMM Grammy ก็ต้องยกให้กับวงร็อคสามชิ้นมากฝีมือ อย่าง โลโซ ที่สร้างปรากฎการณ์ยอดขายล้านตลับในหลากหลายชุดอัลบั้ม หรือในฝั่งนอกกระแส เราก็มี Moderndog ที่คล้ายเป็นตัวแทนของหัวหอก แนวทาง Brit Pop เกาะอังกฤษได้เป็นอย่างดี ข่าวดีของบรรดาคอแผ่นเสียงทั้งหลาย ที่ทั้งสองวงไทยมากฝีมือ ต่างก็มีการทำผลงาน Reissue อัลบั้มอย่าง คาเฟ่ ของโมเดิร์นด็อก หรือชุด Entertainment  จำกัด ของ โลโซ ออกมาเป็นแผ่นเสียงให้เราลองฟังเช่นกัน


สองพี่น้อง Liam และ Noel Gallagher แห่งวง Oasis บนเวทีคอนเสิร์ตใหญ่ Slane Castle, 1995 ประเทศ Ireland


คอนเสิร์ต เพื่อเพื่อน ของโลโซ ถือเป็นจุดสำคัญวงการเพลงไทย หนึ่งในการแสดงสดที่ดีที่สุดที่ค่ายเพลง GMM Grammy เคยมีมา



มาทำความรู้จักกับเพลงโปรดของตัวเอง ในอีกหนึ่งมิติรูปแบบของ แผ่นเสียง ที่ มุมแผ่นเสียงของสยามดิสคัฟเวอรี่ ชั้น 4 ที่มีอัลบั้มดังของศิลปินชั้นนำมากมาย ถูกนำมา reissue ด้วยรูปแบบของ แผ่นเสียงอีกครั้งทั้งไทยและเทศ

YOU MAY ALSO LIKE