BACK TO EXPLORE

A sustainable cup

รู้หรือไม่ว่าสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอัตราซื้อขายสูงในตลาดโลก อันดับสองรองจากน้ำมันคือ กาแฟ และทั่วโลกมีผู้บริโภคกาแฟถึงกว่า 3 พันล้านแก้วต่อวัน กาแฟจึงไม่ใช่แค่เครื่องดื่ม แต่กลายเป็นวัฒนธรรมที่ทำให้ก่อเกิดร้านกาแฟเฟื่องฟูอยู่ทั่วทุกมุมโลก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าก่อนจะเป็นเครื่องดื่มเอสเปรสโซหอมกรุ่นเสิร์ฟจากร้านกาแฟสดที่หลายคนโปรดปรานนั้น กาแฟของคุณอาจผ่านกระบวนการที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้ ตั้งแต่ต้นทางการเพาะปลูกเมล็ดพันธ์ุ โรงงานคั่วอบกาแฟ การขนส่ง การออกแบบและก่อสร้างอาคาร (ร้านกาแฟ) และการบริหารจัดการ

ยิ่งเป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่ รอยเท้าที่เหยียบย่ำบนโลกยิ่งต้องใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ร้านกาแฟชั้นนำที่เสิร์ฟเครื่องดื่มคุณภาพให้คอกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศ จากกว่า 23,000 สาขาอย่างสตาร์บัสค์จึงไม่อาจดำเนินธุรกิจแค่ให้ลูกค้าได้รับเครื่องดื่มคุณภาพดีและมีมาตรฐานเท่านั้นแต่สตาร์บัคส์ยังสนับสนุนให้ทุกคนที่เกี่ยวของมีส่วนร่วมดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

                            

 Green Building

สตาร์บัคส์มุ่งมั่นเป็น “ร้านกาแฟสีเขียว” ที่ผ่านมาตรฐานการรับรอง LEED® (Leadership in Energy and Environmental Design) จาก U.S. Green Building Council :USGBC ทำให้การออกแบบ การเลือกใช้วัสดุและวิธีการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จนถึงการคิดกลยุทธิ์การบริหารจัดการต่างๆ ต้องคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด สตาร์บัคส์ประเทศไทยยังร่วมมือกับดร. สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์และนักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม และบริษัท Sonite Innovative Surfaces เพื่อนำกากกาแฟเหลือทิ้งเป็นวัสดุรีไซเคิลสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์ในร้านด้วย ในสาขาสยามดิสคัฟเวอรี่สตาร์บัคส์ประเทศไทยเลือกใช้วัสดุ JAVA Core ที่มีกากกาแฟเป็นส่วนประกอบกว่า 40% มาผลิตเป็นวัสดุปูผิวชนิดใหม่ตกแต่งเคาท์เตอร์ชงกาแฟของร้านด้วย วัสดุใหม่นี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนไม้ วัสดุธรรมชาติที่ถูกคุกคามโดยมนุษย์มาโดยตลอด

Recycle & Reduce

รู้หรือไม่ว่าถ้าเราซื้อเครื่องดื่มที่เสิร์ฟในแก้วแบบใช้แล้วทิ้งทุกๆวันวันละแก้วเท่ากับว่าเราได้เพิ่มขยะให้โลกแล้วราว 10 กิโลกรัมต่อปี หรือการใช้แก้วกาแฟทำจากวัสดุสไตโรโฟมก็เท่ากับสร้างขยะไม่ย่อยสลายที่จะอยู่บนโลกนี้ไปถึง 500ปี! สตาร์บัคส์ตระหนักดีถึงปริมาณขยะมหาศาลจากอุตสาหกรรมกาแฟที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงพยายามนำหลากแนวทางมาร่วมลดปริมาณขยะ เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล  สนับสนุนการใช้แก้วแบบใช้ซ้ำได้ และการรีไซเคิลขยะที่เกิดขึ้นหลังเคาน์เตอร์ อย่างพวกกล่องกระดาษ แก้วน้ำ เหยือกนม ขวดน้ำเชื่อม กากกาแฟ โดยในปี 2003 สตาร์บัคส์พบว่ามีผู้ดื่มกาแฟที่ใช้แก้วแบบใช้ซ้ำที่ช่วยลดปริมาณขยะได้ 266,168 กิโกกรัม และในปี 2006 ลดได้ราว 305,720 กิโลกรัม สำหรับสตาร์บัคส์ในเมืองไทย มีการให้ส่วนลด 10 บาทแก่ลูกค้าที่นำแก้วแบบใช้ซ้ำได้หรือแก้วน้ำทัมเบลอร์ส่วนตัวมาใส่เครื่องดื่มด้วย

Water Conservation

น้ำ เป็นทรัพยากรธรรมชาติหลักที่ร้านกาแฟต้องใช้ทั้งสำหรับขั้นตอนการชงเครื่องดื่ม การทำความสะอาดหลังเคาน์เตอร์ หรือย้อนไปได้ตั้งแต่การเพาะปลูกต้นกาแฟของชาวไร่ที่เป็นซัพพลายเออร์ โดย Dutch NGO Water Footprint Network คาดการณ์ว่ากาแฟหนึ่งแก้ว (125 ml.) ต้องใช้น้ำถึงกว่า 140 ลิตร ไม่อยากคาดเดาเลยว่าเราต้องใช้น้ำเพื่อการบริโภคกาแฟกันวันละเท่าไหร่ สตาร์บัคส์จึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดการใช้น้ำผ่านหลากหลายแนวทาง โดยตั้งเป้าไว้ว่าต้องลดน้ำลงให้ได้ 25% เช่น การเลือกใช้หัวฉีดแรงดันสูงสำหรับล้างภาชนะแทนเปิดก๊อกน้ำปกติ เลิกใช้ถัง Dipper Well ซึ่งเป็นอ่างที่มีน้ำไหลตลอดเวลาแล้วเปลี่ยนเป็นก๊อกน้ำที่ใช้มือเปิดแทน (ช่วยประหยัดน้ำได้ 15%) ตั้งโปรแกรมเครื่องชงเอสเพรสโซ่ให้ปล่อยน้ำน้อยลงติดตั้งวาล์วและสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ

Saving Energy 

ในปี 2014 สตาร์บัคส์ประเมินได้ว่า มากกว่า 80% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากธุรกิจสตาร์บัคส์ เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานภายในร้านและการผลิต ทางสตาร์บัคส์จึงต้องมีนโยบายลดการใช้พลังงานลง 25% ผ่านหลากมาตรการ เช่น การตั้งอุณหภูมิแอร์ในร้านไว้ที่ 24ํC แทน 22ํC การใช้หลอดไฟ  LED ที่ช่วยประหยัดพลังงานมากกว่า 45% และปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ HVAC (การให้ความร้อน การระบายอากาศ และการให้ความเย็น) จนถึงตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดให้ได้ 100%  และร่วมกับพาร์ทเนอร์ทั่วโลกเพื่อจัดซื้อพลังงานสะอาดในท้องถิ่นด้วย

                                          
                                          

กว่า 18 ปีแล้วที่สตาร์บัคส์ เปิดสาขาแรกในประเทศไทยจนปัจจุบันขยายสาขาทั้งหมด 169 สาขาและล่าสุด คือสาขาสยามดิสคัฟเวอรี่ที่ไม่ใช่แค่ดีไซน์ร้านมีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากที่อื่น แต่ยังสร้างสรรค์องค์ประกอบร้านที่เป็นมิตรกับลูกค้าและสิ่งแวดล้อม พบกับสตาร์บัคส์สาขาล่าสุดที่ชั้น 2 สยามดิสคัฟเวอรี่

YOU MAY ALSO LIKE