ทีนี้เราลองถึงความทรงจำในวัยเด็กไปตามๆกัน เพราะวัยเด็กคือพื้นที่การรับรู้ที่มีแต่ความแปลกใหม่ ทุกสิ่งเป็นเรื่องน่าสนใจและตื่นตา
ช่วงเวลาที่การรับมือและการเข้าใจเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เป็นด้านที่ไม่เคยหวาดกลัวในความผิดพลาด เราเคยตั้งคำถามกันไหมว่าก้อนความคิดและความรู้สึกเหล่านั้นมีความพิเศษอย่างไรบ้าง?
ด้วยประสบการณ์ที่ทุกคนจำเป็นต้องเคยสัมผัสถึง เราเชื่อว่าลักษณะสำคัญของความคิดช่วงวัยเด็กคือความเปิดกว้าง ที่ทำให้ในวัยเด็กเรามีความสนใจหรือมอบให้กับเรื่องใดๆได้มากกว่าทั่วไป ความสนใจที่ลึกไปถึงขั้นของคำว่า “Obsess” ให้กับสิ่งใดๆสักอย่าง หลายครั้งที่ตอนเด็กเรามีมุมตั้งใจ เก็บสะสม หรือทำอะไรตามเรื่องของเราที่มองจากมุมผู้ใหญ่มันสุดแสนจะไร้สาระสุดๆ เรื่องราวความทรงจำเหล่านี้ถ้าหากเรายังจำมันได้ดี และไม่ได้ทอดทิ้งไปไหนเมื่อโตขึ้น หลายครั้งผลลัพธ์ก็คือการอุทิศเป้าหมายในชีวิตที่นำพาไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานที่มีแต่เรากับเราเท่านั้นที่เข้าใจและทำได้ นี่คือพลังของความคิดวัยเยาว์ที่เราพูดถึง
“จินตนาการเป็นอาณาจักรความคิดที่เบ่งบานได้ดีที่สุดในช่วงวัยเยาว์เท่านั้น” หากตั้งใจคิดดูถึงตัวเองจริงๆแล้ว เราคิดว่ามันมีน้ำหนักมากน้อยแค่ไหนกัน? การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากในวัยเด็กที่เรามีเรื่องหลักๆมอบให้กับการทำตามเป้าหมายแบบจุดต่อจุด ไม่ว่าจะชีวิตในสังคมโรงเรียนหรือสังคมครอบครัวที่เราเป็นผู้ถูกดูแลการสลับกันระหว่างสองทางเลือกระหว่างกลับบ้านหาพ่อแม่
หรือจะออกไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนๆ เทียบกับชีวิตในวัยผู้ใหญ่ที่ซึ่งเส้นทางการใช้ชีวิตมีให้ลองทุกทิศทาง และในแต่ละหัวมุมถนนที่เลือกเดินก็ไม่ได้มีความการันตีและปลอดภัยใดๆทั้งสิ้น
บรรดาสิ่งที่ต้องการความระมัดระวังในการตัดสินใจเหล่านี้นี่ล่ะ ที่เมื่อสั่งสมมากขึ้นเรื่อยๆ
แม้เราไม่สามารถเถียงได้ว่า มันคือสิ่งที่เรียกว่า ความรอบคอบ สิ่งที่เป็นเรื่องดีที่ผู้ใหญ่จำเป็นต้องมีมากกว่าเด็ก
ในการใช้ชีวิตกับทุกๆแง่มุม แต่บางทีอาจจะเปรียบเทียบคล้ายกันได้กับลักษณะหน้าเหรียญที่มีหัวและก้อย ที่กำลังค่อยๆเบียดเสียดช่วงเวลาของจินตนาการที่เราเคยมี จนบางทีลืมเว้นช่องว่างให้หายใจกับความสร้างสรรค์ของเรา
ไปแล้วรึเปล่า? แล้วถ้าอย่างนั้น เราจะเอาความคิดเหล่านี้ไปเก็บไว้ที่ส่วนใดกัน ถ้าไม่ใช่ในลิ้นชักความทรงจำที่เราพอคิดถึงได้ในบางครั้ง
แน่นอนความคิดถึงวัยเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาผู้ใหญ่ ถึงตรงนี้เราคงรู้จักกันดี
กับคำว่า Nostalgia (นอสตัลเจีย) ความรู้สึกที่อยาก หวลระลึก กลับไปยืนอยู่ในความทรงจำอดีตที่เป็นภาพชัด
เหล่านั้นอีกครั้ง ไม่แปลกที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราจะได้ยินคำนี้จนบอบช้ำ
เพราะหากลองสังเกตถึงการเคลื่อนไหวในแต่ละวงการที่เป็นไป ไม่ว่าจะดนตรี แฟชั่น ภาพยนตร์ ศิลปะ
การหยิบเอาอัตลักษณ์ช่วงเวลาระหว่างยุค 80' 90' มานำมาปรากฎอยู่ในผลงานแขนงต่างๆ
ทั้งในแง่ของผู้สร้างผลงาน และผู้รับที่เราเองก็รู้สึกร่วมกับวัฒนธรรมเหล่านั้นไปด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงได้ชัดว่า เราไม่เคยทอดทิ้งความทรงจำใดๆในชีวิตไป จะมีก็แต่ฝากไว้กับช่วงเวลาในตอนเด็กเท่านั้นเอง
แน่นอนความคิดถึงวัยเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในช่วงเวลาผู้ใหญ่ ถึงตรงนี้เราคงรู้จักกันดี
กับคำว่า Nostalgia (นอสตัลเจีย) ความรู้สึกที่อยาก หวลระลึก กลับไปยืนอยู่ในความทรงจำอดีตที่เป็นภาพชัดเหล่านั้นอีกครั้ง ไม่แปลกที่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราจะได้ยินคำนี้จนบอบช้ำ
เพราะหากลองสังเกตถึงการเคลื่อนไหวในแต่ละวงการที่เป็นไป ไม่ว่าจะดนตรี แฟชั่น ภาพยนตร์ ศิลปะ การหยิบเอาอัตลักษณ์ช่วงเวลาระหว่างยุค 80' 90' มานำมาปรากฎอยู่ในผลงานแขนงต่างๆ
ทั้งในแง่ของผู้สร้างผลงาน และผู้รับที่เราเองก็รู้สึกร่วมกับวัฒนธรรมเหล่านั้นไปด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงได้ชัดว่า เราไม่เคยทอดทิ้งความทรงจำใดๆในชีวิตไป จะมีก็แต่ฝากไว้กับช่วงเวลาในตอนเด็กเท่านั้นเอง
นี่เป็นบทความแรกที่เราจะได้ทำความรู้จักกันใน The Obsession Issue เดือนพฤษภาคมนี้ การพูดถึงความคิดและความรู้สึกของเด็กใน Here's to a child's mind ข้างต้น เพื่อที่จะย้อนกลับไปทำความเข้าใจกับที่มาของความ Obsess ที่เกิดขึ้นในตัวเราตั้งแต่วัยเยาว์ ถ้าเราสามารถติดตามและจับทางของต้นกำเนิดความเป็นเราที่สั่งสมจากความสนใจจนเจอ ชีวิตที่มีแต่สิ่งที่หลงใหลและหมกมุ่นก็จะดูมิติมากขึ้นไม่น้อย คำถามที่เราอยากจะทิ้งเอาไว้ตรงนี้คือ แล้วคุณล่ะ ยังจำได้ไหมว่าความ Obsess ให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ?