BACK TO EXPLORE

Legacy of Time


"You can tell the history of jazz in four words: Louis Armstrong. Charlie Parker." -Miles Davis-

ทุกยุคสมัยล้วนมีมาสเตอร์ของแต่ละศาสตร์ แต่ละแขนง
และในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้นก็มักจะมีผลผลิตที่เป็นคนสำคัญของอีกยุคสมัยเสมอๆ

Legacy of Time กำลังจะพูดถึงสิ่งนี้ Process การส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเหตุใด ความหลงใหลและคลั่งไคล้
ถึงมีรูปแบบส่งต่อผ่านกันเหมือนกับสายน้ำไหลที่มี “เวลา” เป็นเหมือนเครื่องฉายภาพเคลื่อนไหวชั้นดี

ในการจะเป็นที่หนึ่งของเรื่องที่สนใจ การเรียนรู้เทคนิค ทฤษฎี นั้นเป็นเรื่องหนึ่งที่คงขาดไม่ได้
แต่สิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กันก็คือ แรงบันดาลใจ คำที่จะทำให้คนๆหนึ่งก้าวต่อไปไม่มีหยุด
ทั้งอุปสรรคที่จะต้องเจอและการฝึกปรือหลายร้อยพันชั่วโมงที่ต้องไม่ท้อ
แต่แรงบันดาลใจที่เห็นได้ชัดที่สุดนั้นหาได้จากที่ไหน?
มีคำศัพท์อยู่หนึ่งคำที่เข้าใจได้เป็นสากล Role Model หรือบุคคลที่เรามองเป็นตัวอย่าง
เพราะไม่ว่าจะแตกต่างกันขนาดไหน ทั้งเชื้อชาติ เรื่องราวชีวิต หรือประสบการณ์
จะยังมีสิ่งหนึ่งที่เรายึดถือจากบุคคลเหล่านี้ได้เสมอๆ เพราะเราคือมนุษย์ เหมือนกัน
และเราเชื่ออย่างดีว่า ก่อนที่มาสเตอร์หลายๆคนที่ทุกวันนี้เรามองเป็นแบบอย่าง
ทุกคนล้วนจำเป็นต้องมีที่มาที่ไปด้วยกันทั้งนั้น
 


(https://cangrejonegro.wordpress.com/2015/12/19/charlie-parker-el-jazz-callado-del-gozo-2/)
Charlie Parker “Bird” (ซ้าย) / Miles Davis (ขวา) ภาพถ่ายท่ีผับในนิวยอร์คปี 1947 ของสองนักดนตรีแจ๊ซแห่งยุค
ที่ในเวลานั้น Miles ยังเล่นให้กับวงของ Bird อยู่


ถ้าไม่มี Miles Davis วงการเพลง Jazz และอีกหลากหลายวงการก็คงไม่มีกลิ่นอายและสีสันเหมือนกับวันนี้
เช่นกันกับ Miles Davis ที่ถ้าไม่มีชายที่ชื่อ Charlie Parker เขาก็คงไม่มีวันนี้เช่นกัน
Charlie Parker หรือ “Bird” คือชื่อและฉายาของนักดนตรีแจ๊ซ เครื่องเป่าแซ็กโซโฟน กับผลงานมากมายสร้างไว้ในยุค 50s
ถ้าถัดจากยุค Swing และ Big Band ก็มีแนวดนตรี Jazz Bebop นี่ล่ะ มีเขาคนทำให้เกิดเป็นที่รู้จักและสนใจขึ้นมา
หลังจากนั้นก็เกิดเป็นการเคลื่อนไหวยุครุ่งเรืองของ Jazz หนึ่งในนั้นมี Miles Davis เป็นกำลังสำคัญนำหน้ามาเลยด้วย
มีเรื่องเล่าว่าในยุคเริ่มต้นของ Miles ครั้งแรกๆที่ได้ร่วมเข้าสตูดิโอเพื่ออัดเพลงในอัลบั้มชุดสำคัญของ Parker
เมื่อเขาพบกับสไตล์การเล่นที่ซับซ้อนแปลกหูของ Bebop ก็ถึงกับยืนนิ่งและต้องออกไปอาเจียน จนเล่นต่อไม่ได้
แต่ท้ายที่สุดเมื่อผ่านการฝึกฝนอย่างหนักก็ทำให้ Miles Davis กลับมาเป็นผู้สร้างภาษาใหม่ให้กับ Jazz ในยุคถัดมาเช่นกัน
และที่เราทราบกันดีว่างานของ Miles เป็นหลักไมล์สำคัญของวงการเลยก็ว่าได้


(https://www.amazon.com/Kind-Blue-Miles-Davis/dp/B001KL3GZO)
Kind of Blue – Miles Davis โปรดสังเกตถึงรายชื่อนักดนตรี Jazz ที่ร่วมเล่นในอัลบั้มมาสเตอร์พีซชุดนี้
จะเห็นว่าในภายหลังผู้เล่นแต่ละคนล้วนแยกกันมีผลงานที่เป็นอัลบั้มสำคัญของวงการแจ๊ซเช่นกัน

เฉกเช่นในช่วงเวลาหนึ่ง สำหรับนักกีฬาบาสเกตบอลที่มีชื่ออยู่ในท๊อป 5 ตลอดกาลของ MVP ยุคนี้ อย่าง Kobe Bryant
หรือ LeBron James ก็ต้องเคยมองรุ่นเก๋าอย่าง Micheal Jordan เป็นเหมือนบุคคลเทิดทูน
ภาพจำที่ทำให้พวกเขาหมั่นฝึกซ้อม เพื่อไปยืนอยู่ตรงความสำเร็จเหมือนกับรุ่นพี่
กับระบบความคิดที่ทำยังไงก็ต้องเดินไปให้ถึงจุดที่ยืนนั้น แม้เมื่อถึงเวลาหนึ่ง
พวกเขาก็จำเป็นต้องเดินจากสิ่งที่เคยเชื่อมั่นนี้อยู่ดี เพราะทุกคนไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นอีกคนหนึ่ง
แต่มาเพื่อเป็นคนๆหนึ่งที่จะจารึกเรื่องราวไว้ให้โลกได้รู้เป็นประวัติศาสตร์


(http://espn.go.com/video/clip?id=15157845)
Kobe Bryant (ซ้าย) / Michael Jordan (ขวา) ขณะที่ทั้งคู่เจอกันในเกมส์ระหว่าง L.A. Lakers และ Chicago Bull


(http://madame.lefigaro.fr/celebrites/leonardo-dicaprio-la-complexe-icone-200116-111868)
Robert De Niro (ซ้าย) / Leonardo DiCaprio (ขวา) ในระหว่างที่พวกเขากำลังเข้าฉากภาพยนตร์เรื่อง
“The 
Boy’s Life (1993)” รับบทเป็นพ่อกับลูก เวลานั้นบ๊อบมีอายุ 50 ปี ในขณะที่ลีโอมีอายุเพียง 19 เท่านั้น

ครั้งหนึ่ง Leonardo DiCaprio เคยกล่าวอุทิศให้กับ Robert De Niro ว่า “ตอนผมวัยเด็ก พ่อของผมเคยพาผมไปดูหนัง
แล้วบอกว่า ถ้าแกอยากจะเป็นนักแสดงจริงๆ แกดูคนที่อยู่บนจอนี้ให้ดี นี่ล่ะของจริง!” 
และคนที่อยู่บนจอที่ว่าก็คือ Robert De Niro ในช่วงท๊อปฟอร์ม
และแม้ทั้งคู่จะเคยมีโอกาสได้มานำแสดงร่วมกันในตอนที่อายุห่างกันระหว่างเด็กผู้ใหญ่
แต่ท้ายที่สุดเวลาก็แสดงให้เห็นแล้วว่า การส่งต่อรุ่นต่อรุ่น นั้นออกมาเด่นชัดจริงๆ
ดูจากการร่วมงานกับผู้กำกับระดับปรมาจารย์ของฝั่งอเมริกาอย่าง Martin Scorsese ที่ดาราคู่บุญในยุค 70s เป็น Robert De Niro
แต่ตอนนี้เป็น Leonardo DiCaprio ไปแล้ว


สังเกตจากผลงานทุกคนที่กล่าวถึงด้านบน เราคงมีภาพชัดของการเปลี่ยนแปลงจากช่วงวัย
แม้ในตอนเริ่มต้องมีการได้รับอิทธิพลจากผู้เป็นแรงบันดาลใจมาไม่มากก็น้อย
แต่แล้วไม่ช้าก็เร็วก็ต้องถึงวันที่ผลงานที่สร้างสามารถช่วยพูดถึงสิ่งที่ทำเป็นภาษาของตนเองที่ชัดเจน
สิ่งที่หลงเหลือให้ใช้เป็นคำอธิบายและแสดงให้คนอื่นเห็นและเข้าใจคงมีแต่
“เวลา” ที่เดินทางผ่านมาจากรุ่นหนึ่งนำไปสู่อีกยุคสมัยหนึ่งเท่านั้น

YOU MAY ALSO LIKE