BACK TO EXPLORE

MEET THE MAKER - PIPATCHARA KAEOJINDA

MEET THE MAKER

PIPATCHARA One of the MAKERS

 

"เพชรคิดว่ามันสำคัญมากเลยนะ ที่ทำให้คนเห็นว่าการที่เราทำประโยชน์ไม่ใช่แค่กับเราคนเดียว แต่เกิดประโยชน์ทั้งชุมชนกับกลุ่มคนที่เป็น sustainable ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลาสติกรีไซเคิลที่เรา save ไป มันมีผลดีอย่างไรบ้างแบบนั้นแหละค่ะ"

 

จุดริเริ่มของ Pipatchara:

“เราเริ่มต้นปี 2008 สิ่งเราอยากจะทำตั้งแต่แรกเลยก็คือเราอยากจะยืนว่าเราเป็นแฟชั่นคอมมูนิตี้ แปลว่าสิ่งที่เราอยากจะเป็นคือทุกๆชิ้นงานมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำแต่ละใบออกมา เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำคือเราใช้เทคนิค Macramé ที่เป็นการถักและสานหัตถกรรม เอาไปสอนในชุมชนต่างๆที่แม่ฮ่องสอนและเชียงราย แล้วก็หลังจากนั้นในทุกๆใบที่ทุกคนเห็นเนี่ยก็คือมีส่วนร่วมของชุมชนไม่ว่ามากหรือน้อย แต่ว่ามันจะมีส่วนร่วมอยู่ในทุกๆชิ้นตรงนั้น เราก็เลยยืนหยัดว่าเราเป็นแฟชั่นคอมมูนิตี้มาตลอดเลยตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปี 2020 พอปี 2020 เนี่ยสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่าเพชรอยากจะเฉลิมฉลอง Earth Day ซึ่งมันตลกมากเลย เพราะมันเป็นวันเดียวกับวันเกิดของแบรนด์ ก็คือวันที่ 6 เดือน 6 เนี่ยมันตรงกับวันสิ่งแวดล้อมโลกพอดี เพชรก็เลยอยากจะ celebrate ขึ้นมาว่าเราทำครบมา 3 ปีแล้ว อยากจะเริ่มไปอีกสเต็ปหนึ่งของการเป็น sustainability ก็เลยปรึกษากับพี่สาวเพราะว่า Pipatchara เกิดขึ้นมาจาก 2 คนก็คือเพชรกับพี่ทับทิม พี่ทับทิมทำในเรื่องของ sustainable และคอมมูนิตี้ทั้งหมดและเพชรทำในฝั่งของดีไซน์อย่างเดียว เพราะฉะนั้นแล้วในการทำงานด้วยกันเนี่ยมันก็เลยกลายเป็นว่าฝั่งดีไซน์ combine กับ sustainable กลายเป็น Pipatchara 

ซึ่งสิ่งที่พี่ทับทิมแนะนำก็คือในเรื่องของพลาสติกรีไซเคิล ตัวพลาสติกที่เป็นพลาสติกกำพร้าเป็นพลาสติกที่ไม่มีใครให้ความสนใจมันเลย แล้วก็เป็นพลาสติกที่ waste มากที่สุด พวกช้อนส้อมพลาสติก ฝาขวดน้ำ หรืออะไรต่างๆทั้งหมดทั้งสิ้น มันจะเป็นสิ่งบริษัทใหญ่ๆเขาไม่อยากจะใช้ เพราะฉะนั้นเราก็เลยเลือกตัว material อันนี้มาใช้สำหรับ Pipatchara คอลเล็กชัน Infinitude ซึ่งเราใช้เวลาถึง 2 ปีเลย ในการที่ทำให้โปรเจกต์นี้มันเวิร์ก เพราะว่าเราต้องมีการแมทช์สีใหม่ มีการผสมสีใหม่ แต่ละสีเนี่ยมี percentage ไม่เข้ากัน สีที่เกิดขึ้นมาอย่างเช่นสีเหลืองเนี่ย เราใช้เวลาถึง 6 เดือนเลยถึงจะ approve ว่าโอเค สีนี้ไปต่อได้ เราชอบ พอหลังจาก 6 เดือนนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเราก็เลยเริ่ม launch สีที่ทำจากขวดยาคูลท์ ฝาขวดน้ำดื่มสิงห์, เนสต์เล่, เมจิ อะไรแบบนี้ออกมา ซึ่งเราก็โชคดีได้เปิดตัวที่ Siam Discovery สิ่งที่เพชรชอบก็คือ Siam Discovery เขาให้ความสนใจมากๆอยู่แล้วในเรื่องของ eco-friendly เราก็เลือกที่จะไปเปิดที่ Siam Discovery ค่ะ”

 

นิยาม คอนเซปต์ หรือสิ่งที่ Pipatchara อยากจะสื่อสารออกไป:

“สิ่งที่เราพยายามทำออกไปคือการที่เราตั้งตัวเองค่อนข้างชัดเจนค่ะว่าเราไม่ใช่แฟชั่นแบรนด์และกระเป๋า Pipatchara เพชรไม่ได้ถือว่ามันเป็น handbag accessory แต่เพชรถือว่ามันเป็น art piece อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นแล้วการที่เพชรอยากจะส่งเข้าไปถึงคนที่เขาซื้อกระเป๋า Pipactchara หรือคนที่เข้ามาเป็นคอมมูนิตี้เอง ก็คือสิ่งที่เราทำกันอยู่นี้ เป็นสิ่งที่เรามีส่วนร่วมกันไม่มากก็น้อย แตกต่างกันไป แต่อย่างน้อยแล้วมันมีส่วนที่เราอยากจะช่วยคอมมูนิตี้ และสิ่งนี้เป็นพื้นฐานหลักของเราอยู่แล้วที่การทำให้แบรนด์เราเติบโตมาจนถึงจุดนี้ซึ่งจะเข้าเข้าปีที่ 5 แล้ว เราก็ยังจะคงคอนเซ็ปต์เดิมอยู่ว่า community made พยายามจะ sustainable บริษัทหรือ suppliers ที่เราใช้ เขาก็พัฒนาไปด้วยกันในเรื่องของ sustainability คือการที่ผลิตต้องมี concern เรื่องสารเคมีต่างๆ นี่คือสิ่งที่เพชรและคอมมูนิตี้ของ Pipatchara อยากจะบอกทุกคนว่าเราใช้พลังทั้งหมดที่มีในการบอกเล่าหรือส่งต่อเรื่องราวต่างๆ ออกไปว่าสิ่งที่เราทำอยู่มันไม่ใช่สิ่งที่ง่าย  ในการที่ต้องบินไปที่เชียงราย แม่ฮ่องสอน เพื่อที่จะสอนคอลเล็กชันใหม่ให้กับชุมชน แต่ ณ วันนี้ก็ยังมีคนที่ยังอยู่กับเรามาตั้งแต่ 5 ปีที่แล้วอยู่ และคนที่เพิ่มขึ้นมาอีก 50 คน ในอีกสองอาทิตย์ข้างหน้า ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสิ่งนี้เพชรคิดว่ามันสำคัญมากๆ เลยนะ ที่ทำให้คนเห็นว่าการที่เราทำประโยชน์ไม่ใช่แค่กับเราคนเดียว แต่ยังมีประโยชน์กับชุมชนเอง กับกลุ่มคนที่เป็น sustainable ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลาสติกรีไซเคิลที่เรา save ไป มันมีผลยังไงบ้างแบบนั้นแหละค่ะ”

 

พูดถึงคอลเล็กชัน Infinitude ที่ส่งผลดีสิ่งกับสิ่งแวดล้อมและกระแสในวงกว้าง:

“คือในความเป็นจริงแล้วถ้าพูดตรงๆ เลยนะคะ ตัว Infinitude มันจะจบลงภายในเดือนแปดปีที่แล้ว(2021) เพชรคิดว่าเราจะใช้พลาสติกในการทำตัวกระเป๋า Infinitude เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนและเดือนสิงหาคม น่าจะจบโปรเจกต์เพราะไม่คิดว่าคนจะให้ความสนใจขนาดนี้ในเรื่องของขยะ เพราะอย่างที่บอกว่ากระเป๋า Infinitude ที่ขายอยู่ที่ Siam Discovery มันคือขยะร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่เราได้มาจากครัวเรือน เราแค่เอามาแยกจำแนกประเภท แยกสี ทำออกมาเป็นกระเป๋าราคาสองหมื่นสองพันกว่าบาท ตอนแรกเพชรแค่อยากจะทำเพื่อให้คนเห็นว่าเราเริ่ม concern เรื่องนี้ แต่เพชรไม่คิดว่ามันจะมาไกลจนถึงการที่เพชรได้มีโอกาสไปโชว์ที่ดูไบแฟชั่นวีค และมันทำให้เพชรต่อยอดจากแค่กระเป๋า ไปเป็นเสื้อผ้า รองเท้า จนตอนนี้มันเลยกลายเป็นคอลเล็กชันใหญ่ รวมขยะที่เราใช้ไปทั้งหมดล่าสุดที่ดูไบคอลเลกชันเดียว เราใช้ไปเกือบสามแสนชิ้น ถ้ารวมสองคอลเล็กชันเราใช้ขยะไปแล้วเกือบล้านชิ้น เพราะฉะนั้นอันเนี้ยเป็นตัวบ่งบอกแน่นอนว่าทำไมบริษัทใหญ่ๆ หรือลูกค้าเขายังเข้ามาหาเราอยู่ เพราะเขารู้สึกว่าสิ่งที่เขาทำอยู่กับเราอาจจะตอบโจทย์ในเรื่องคุณค่าของเขา ในการที่เขาหันมา concern เรื่องนี้ เพราะหนึ่ง การที่เราไม่สามารถขายกระเป๋าได้เนี่ยมันก็ทำให้ขยะลดน้อยช้าลง แต่การที่เราขายได้มากขึ้นแปลว่าเราก็ลดขยะจากโลกได้มากขึ้น  สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้มันทำให้เพชรคิดว่า คนเขา concern เรื่องนี้กันเยอะขึ้น มันน่าจะเป็นตัวพิสูจน์มากกว่าว่าทำไมมีคนตัดสินใจซื้อ Infinitude ในราคาสองหมื่นสอง และสอง กระเป๋าขวดยาคูลท์ในคอลเลกชั่นแรก วันแรกที่เพชรทำเลย วันที่ 6 เดือน 6 ปี 2022 เพชรใช้ขวดยาคูลท์ไปทั้งหมดห้าหมื่นขวด เพชรขายหมดในหนึ่งเดือน และหลังจากนั้นเพชรหาขวดยาคูลท์ได้เร็วไม่เท่ากับกำลังการซื้อที่คนซื้อกระเป๋าไปเลยค่ะ เพราะฉะนั้นแปลว่าการที่เราลดขยะโลกได้จริง อันนี้มันเกิดขึ้นแล้วในคอลเล็กชัน Infinitude ค่ะ”

 

คิดอย่างไรกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนในยุคปัจจุบันและดูเหมือนจะกลายมาเป็นกระแสหลักที่ทำให้คนเริ่มสนใจเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น:

“เพชรมองว่าเรื่องกระแสมันมาและก็ไป แต่สิ่งที่ Pipatchara ทำอยู่เพชรคิดว่า ตอนนี้เราอาจจะตรงกับกระแสที่เขา concern เราอาจจะเปิดตัวในเวลาที่ถูกต้อง ที่คนเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำมากกว่า แต่เพชรคิดว่ามันไม่ควรเป็นกระแสสำหรับเรื่องนี้ มันควรเป็นสิ่งพื้นฐานที่แบรนด์ทุกแบรนด์ ทุกที่ควรจะ concern อยู่แล้วว่าสิ่งที่เราทำได้ไม่มากก็น้อยต่อสิ่งแวดล้อมหรือ sustainable หรือ community มีจุดไหนบ้าง เพชรคิดว่ามันควรจะเป็นอะไรที่ long term เพชรไม่ได้มองมันเป็นกระแส มันคือสิ่งที่ควรจะอยู่เลยกับแต่ละแบรนด์ค่ะ”

 

ทิศทางในวันข้างหน้าหรือเป้าหมายในอนาคตของ Pipatchara เป็นอย่างไร:

“ในความเป็นจริงในเรื่องของธุรกิจเพชรคิดว่ามันก็เปลี่ยนแปลงเสมอแหละค่ะ แล้วเรื่องที่ยากที่สุดคือเราไม่ได้เป็นศิลปิน เราเป็นเจ้าของธุรกิจ เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องธุรกิจสำคัญในการที่เราจะหล่อเลี้ยงกันยังไงให้ธุรกิจเราอยู่รอด เพชรก็เลยคิดว่า planning ของ Pipatchara มันคือย้อนกลับไปถึงคอมมูนิตี้ ว่าเราต้องผลักดันตัวเองให้มากแค่ไหนที่เราจะสามารถรักษาคอมมูนิตี้นี้ไว้ได้ Pipatchara ต้องขายได้นะ คนต้องเห็นมากพอว่า Pipatchara ทำอะไรอยู่ คนต้องสามารถพูดได้และพูดถึงต่อๆ กันไปกับคนสิบคน ร้อยคนหรือ พันคน มันก็มีผลต่อ Pipatchara อยู่แล้ว อันเนี้ยมันคือการเผยแพร่ออกไปเกี่ยวกับสิ่งที่ Pipatchara ทำ แล้วเพชรคิดว่าสิ่งนี้มันเป็นเป้าหมายของเพชรเลยว่า อยากให้ทุกคนเข้าใจว่าเราทำอะไรอยู่ แล้วพูดถึงมันในแง่ที่แต่ละคนเข้าใจกันยังไงบ้าง discuss กันมากกว่าว่ามันดี ไม่ดี มันตอบโจทย์ ไม่ตอบโจทย์ ทั้งหมดทั้งสิ้นเพชรเลยสร้างคอมมูนิตี้ของ Pipatchara เพชรก็เลยคิดว่าในเรื่อง planning ของ Pipatchara ในอนาคต เพชรเลยไม่ได้มี solid plan ตายตัวว่าเพชรจะต้องขายที่นี่ เท่านี้ ต้องประสบความสำเร็จแบบนี้ แต่ในอีก 3 ปี หรืออีก 5 ปี เพชรคิดว่ามันน่าจะมีชุมชนและกลุ่มคนที่พูดถึงเรามากขึ้น เป็นที่รู้จักมากขึ้นแบบนั้นมากกว่า แค่ไม่ใช่ในประเทศไทย มันน่าจะต้องเป็น global ค่ะ”

 

ถ้ามีพรวิเศษ 1 ข้อ คุณจะขออะไรให้กับโลกของเรา:

“อยากให้คนสามารถมองอะไรในแง่ของการตระหนักว่าเราสามารถช่วยอะไรได้กับโลกใบนี้ เพราะว่าเพชรคิดว่าเราก็เห็นอะไรหลายๆ สิ่งที่โลกเปลี่ยนแปลง ในเรื่องเทคโนโลยีมันก็ดีอยู่ที่มันพัฒนา แล้วตอนนี้พอมีโซเชียลมีเดียเยอะ มันเลยทำให้เพชรรู้สึกว่าถ้าเกิดจะขอพร อยากจะขอให้มีหนึ่งวัน We have no social media แล้วดูสิว่าโลกมันเป็นยังไงหรอ เราหันมาเห็นความสำคัญอะไรที่อยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้นไหม? เราออกไปท่องเที่ยวแล้วเรารู้สึกยังไง เราจะถ่ายรูปลงหรือเราจะ concern ว่าเราจะได้คอนเทนต์รึเปล่า อะไรแบบนั้นค่ะ มันอาจจะเป็นสิ่งที่ตอนนี้เพชรรู้สึกว่าอยากลองดู เพราะว่าเราไม่ได้แบบจะให้มันเป็นตลอดไป Pipatchara เองก็อยู่ในโซเชียลมีเดียอยู่แล้วที่เราก็สามารถทำขึ้นมาได้ แต่เพชรแค่อยากรู้ว่าสมมติในหนึ่งวันที่โลกไม่มีโซเชียลมีเดียเลย คนเขาใช้ชีวิตกันยังไงหรอ? แบบนั้นแหละค่ะ”

 

ฝากถึงคนรุ่นใหม่หรือคนที่กำลังสนใจของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: 

“Pipatchara เป็นชื่อของเพชรก็จริง แต่ว่าตอนนี้มันไม่ใช่แค่เพชรแล้ว เพชรก็เลยอยากจะบอกว่ามันคือคอมมูนิตี้ของ Pipatchara มากกว่า การที่ทุกคนร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ที่ทำให้คนในยุคนี้เห็นว่าเราทำจริงนะ เราตั้งใจมากนะ มันยากมากๆ เลยนะ แต่ด้วยเพราะมันเป็นส่วนรวมมันเลยไปได้ไกล เพราะฉะนั้นแล้วถ้าฝากถึงคนรุ่นใหม่ คือคุณพยายามคิดอะไรที่อยากจะทำออกมาให้มันมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อคนรอบตัว ต่อสังคม ต่อโลกด้วยมันจะทำให้เราคิดได้นานกว่า และไปได้ไกลกว่าค่ะ”

#SiamDiscovery #TheExploratorium #ComePlayWithUs
#SummerExploratorium #EarthDiscovery
#NoPollutionIsTheSolution

YOU MAY ALSO LIKE